ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship) ของ ความเป็นพลเมือง

ความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) เป็นคำที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ประชาธิปไตยจะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่เพียงมีรัฐธรรมนูญที่ดีเท่านั้น แต่ประชาชนจะต้องเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยด้วย (วรากรณ์ สามโกเศศ , 2554) กล่าวคือ มีสมาชิกของสังคมที่ใช้สิทธิเสรีภาพโดยมีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพความแตกต่าง เคารพกติกา ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมนี จัดให้มีการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ขึ้นมา และประสบความสำเร็จในการวร้างพลเมือง จนเป็นตัวอย่างให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกประเทศไทยจัดว่าพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยมาร่วมกว่า 80 ปี แต่ยังคงมีปัญหาของการถอยกลับไปสู่ยุคที่เรียกว่า ขาดความเป็นประชาธิปไตย ด้วยเหตุผลหลายประการ อย่างไรก็ตามหากประชาธิปไตยมีความเป็นพลเมืองในแนวคิดที่จะช่วยพัฒนาประเทศไปอย่างสันติได้ ก็น่าจะส่งผลต่อการเสริมสร้างความก้าวหน้าของกระบวนการประชาธิปไตยมากขึ้น

คุณสมบัติของความเป็นพลเมือง แบ่งได้ ดังนี้

  1. มีค่านิยมตามประเพณีนิยม (Traditional Values) ประกอบด้วย การเคารพผู้อาวุโสกว่า เสียสละเวลา ทำงานเพื่อส่วนรวม ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามหลักศาสนา มีความภูมิใจในการเป็นคนไทย ทำงานแบบสุจริต บริจาคโลหิต สิ่งของและรักษาสิ่งแวดล้อม
  2. มีความรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง (Civic knowledge) ประกอบด้วย การสามารถเปรียบเทียบนโยบาย ของพรรคและผู้สมัคร มีความรู้เรื่องการเมืองของประเทศต่างๆ เต็มใจที่จะเสียภาษี
  3. การมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกกลุ่ม สามารถไปร่วมชุมนุม ติดตามการทำงานของนักการเมืองและข้าราชการ[6]
  1. ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด.2014.ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย.สืบค้นจาก http://kpi.ac.th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-citizenship-in-thailand-.html.สืบค้นเมื่อ 20 ก.พ. 2560.(หน้า 6-7)
  2. อาจารย์ภณ ใจสมัคร.ความเป็นพลเมืองในสังคมยุคใหม่.ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.สืบค้นจาก http://ge.kbu.ac.th/Download9_files/img/07.pdf.สืบค้นเมื่อ 19 ก.พ. 2560.(หน้า 3-4)
  3. ธเนศวร์ เจริญเมือง.2551.พลเมืองเข้มแข็ง.490/9 ถนนริมคลองประปาฝั่งขวา เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800:สำนักพิมพ์วิภาษา.(หน้า 3-8)
  4. ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง.ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.พื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย.สืบค้นจาก[].สืบค้นเมื่อ 20 ก.พ. 2560.(หน้า1-3)
  5. รศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง.กันยายน 2548.แนวคิดว่าด้วยความเป็นพลเมือง.บริษัท โรงพิมพ์ คลังวิชา จำกัด : จัดพิมพ์โดย สถาบันปกเกล้า.(หน้า 63-72)
  6. ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด.2014.ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย.สืบค้นจาก http://kpi.ac.th/media/pdf/M10_452.pdf.สืบค้นเมื่อ 20 ก.พ. 2560.(หน้า 4-5)

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา